2. พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมากตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลน พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแหล่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง และพระองค์ท่านก็ได้ทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปีพ.ศ.2495พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส.ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิตและชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส.เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สถานีวิทยุ อ.ส.เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง 2 เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AMพร้อมๆกัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายและติดตั้งให้ด้วย เมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง ในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟังเข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปีพ.ศ. 2525 สถานีวิทยุ อ.ส. ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบ FM ขึ้นอีกระบบหนึ่ง ในการขยายด้านกลำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส.สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นอาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือได้ว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์
พระองค์ทรงมีวัตถประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุอ.ส.เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นการสื่อสารในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับประชาชนทั่วทุกคน
นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิงและเผยแพร่ความรู้กับประชาชน ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญหรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆขึ้นเช่น การเกิดโรคโปลิโอระบาดใน ปี พ.ศ.2495อหิวาตกโรค ในปี พ.ศ. - 2501 และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก ในปีพ.ศ.2505 โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุญขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น